"ทวี"ติดตามปัญหายาเสพติดสกลนคร-ชู “สกลนครโมเดล“ ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน


27 เม.ย. 2568, 13:55

"ทวี"ติดตามปัญหายาเสพติดสกลนคร-ชู “สกลนครโมเดล“ ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน




วันที่ 27 เมษายน 2568  พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย พลตำรวจโทภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. นายคณิศร ภาพีรนนท์ ผู้อำนวยการ ปปส.ภาค 4 พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นจังหวัดสกลนคร โดยตรวจเยี่ยมพื้นที่ตำบลเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

โดยมี นายอภิชาต ตีรสวัสดิชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย เขต1, นางสาวจิรัชยา สัพโส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย เขต3, นายพัฒนา สัพโส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย เขต4, นางสาวสกุณา สาระนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย เขต6, นางนฤมล สัพโส นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ร่วมให้การต้อนรับ และมี นายพิสิษฐ์ 
แร่ทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร และ นางสาว จิราภรณ์ เบิกบานดี นายอำเภอเมืองสกลนคร ร่วมกล่าวต้อนรับ และกล่าวรายงาน ทั้งนี้มี นายอัครกิตติ์ วรโรจน์เจริญเดช หรือ เบนซ์ เรซซิ่ง เข้าร่วมกิจกรรมด้วยลงพื้นที่ครั้งนี้ด้วย


สำหรับการขับเคลื่อนการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาพรวมของจังหวัดสกลนคร โดยจังหวัดสกลนครเป็น 1 ใน 12  จังหวัดที่นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตรได้กำหนดให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามแนวทาง “ธวัชบุรีโมเดล” นำมาสู่การขับเคลื่อนการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้โครงการ "ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อให้ประชาชนมีความสุข" (สกลนครโมเดล) โดยจังหวัดสกลนครได้เริ่มดำเนินการ Kick Off โครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 จนถึงปัจจุบัน ในการดำเนินการจังหวัดสกลนครได้ กำหนดเป้าหมาย Re X-ray เต็มพื้นที่ 18 อำเภอ ให้ได้ 100 % โดยได้กำหนดเป้าหมาย Re X-ray ประชากร ช่วงอายุ 12-65 ปี ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จริง 484,716 คน โดยแบ่งพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ ไข่แดง ไข่ขาว และกระทะ   ผลการดำเนินการ จนถึง ณ วันที่ 25 เมษายน 2568 มีผลดำเนินการ ดังนี้

ผลการคัดกรองพื้นที่ไข่แดง จำนวน 1 อำเภอ เป็นพื้นที่เขตอำเภอเมืองสกลนคร มีเป้าหมายคัดกรอง 83,109 คน คัดกรองแล้ว 83,981 คน คิดเป็นร้อยละ 101.05  พบผู้มีสารเสพติด 1,313 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5๖ ของยอดคัดกรอง



ผลการดำเนินการพื้นที่ไข่ขาว จำนวน 7 อำเภอ มีเป้าหมายคัดกรอง 117,522 คน คัดกรองแล้ว 120,65๔ คน คิดเป็นร้อยละ 102.6๗ พบผู้มีสารเสพติด 2,846 คน คิดเป็นร้อยละ 2.36 ของยอดคัดกรอง

ผลการคัดกรองพื้นที่กระทะ จำนวน 10 อำเภอ มีเป้าหมายคัดกรอง 284,085 คน        คัดกรองแล้ว 28๗,๑๘๘คน คิดเป็นร้อยละ 101.09 พบผู้มีสารเสพติด 6,062 คน คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของยอดคัดกรอง

ผลการขับเคลื่อนโครงการฯในภาพรวมของจังหวัดสกลนคร ดังนี้

ด้านการป้องกัน มีผลดำเนินการต่อเนื่องใน 18 อำเภอของจังหวัดสกลนคร ดังนี้
- การตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด ยอดรวมการปฏิบัติ 11,028 ครั้ง
- การสร้างการรับรู้ ในหมู่บ้าน/ชุมชน สถานศึกษา ยอดการปฏิบัติรวม 3,934 ครั้ง
- การจัดระเบียบสังคม ยอดการปฏิบัติรวม 2,405 ครั้ง
- การตรวจสถานประกอบการที่มีแรงงาน ยอดการปฏิบัติรวม 2,405 ครั้ง

ด้านการปราบปราม มีผลดำเนินการจับกุม และขยายผล รวมจำนวน 1,962 ราย โดยแยกเป็น คดีเสพ 577 คดี/ คดีร้ายแรง 1,326 คดี/ คดีสมคบ 59 คดี/และดำเนินการกับเครือข่าย 43 คดี ยึดอายัดทรัพย์สิน มูลค่า 31,327,156 บาท

ผลการ Re X-ray เป้าหมาย 484,716 คน ได้ดำเนินการRe X-ray ไปแล้ว รวมจำนวน 491,823 คน คิดเป็นร้อยละ 101.47 พบผู้มีสารเสพติด รวมจำนวน 10,221 คน คิดเป็นร้อยละ 2.08 ของจำนวนผู้คัดกรอง ซึ่งผลการคัดกรองRe X-ray สามารถดำเนินการได้เกินกว่า 100 % เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการบูรณาการ ระดมสรรพกำลัง บุคลากร ภาคีเครือข่าย อาสาสมัครของทั้งภาครัฐ และประชาชนภายใต้สภาวะที่ยังไร้งบประมาณสนับสนุนในระหว่างการขับเคลื่อนโครงการ ในทั่วทุกพื้นที่ทุกอำเภอของจังหวัดสกลนคร และข้อจำกัด แรงต่อต้าน ต่างๆ ในการดำเนินการคัดกรองและการสร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจให้กับประชาชน จนกระทั่งประชาชน และผู้นำชุมชน ในทุกพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และเข้ามาเป็นส่วนร่วมหนึ่งในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในแต่ละด้าน ของแต่ละพื้นที่ อาทิ ด้านการป้องกัน มีการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด การเดินเวรยาม รักษาความสงบเรียบร้อย โดยชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ของแต่ละหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้การดำเนินการกับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด อยู่ในกระบวนการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน CBTx และ มินิธัญรักษ์ เพื่อส่งต่อไปยังศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ช่วยให้มีชีวิตที่ดีขึ้นสามารถกลับคืนสู่สังคมและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในหมู่บ้านชุมชนได้ ต่อไป





คำที่เกี่ยวข้อง : #ป.ป.ส.  









©2018 CK News. All rights reserved.