"หมอยง" ไขข้อสงสัย "วัคซีนวัณโรค BCG" ป้องกันโควิด-19 ได้จริงหรือไม่?


16 พ.ค. 2563, 09:27

"หมอยง" ไขข้อสงสัย "วัคซีนวัณโรค BCG" ป้องกันโควิด-19 ได้จริงหรือไม่?




ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันวัณโรคแรกเกิด โดยระบุว่า   

มีการพูดกันมากว่า คนทางแถบเอเชียได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแรกเกิด ติดเชื้อโควิด-19 น้อยกว่าคนทางยุโรป ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคเมื่อแรกเกิด จึงมีข้อสมมติฐานว่า วัคซีน BCG ป้องกันวัณโรค ช่วยป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19



จากการศึกษาที่อิสราเอล เป็นประเทศที่ให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกเกิด มาจนถึงปี 1982 หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการให้อีก เมื่อเปรียบเทียบประชากรย้อนขึ้นไป 3 ปี กับประชากรลงมา 3 ปี คือประชากรที่เกิดก่อนและหลังปี 1982 เมื่อเปรียบเทียบอายุแล้วจะอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกันและดูอัตราการติดเชื้อ โควิด-19 พบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีน BCG ติดเชื้อ โควิด-19 11.7% ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน BCG ติดเชื้อ โควิด-19 จำนวน 10.4% และมีความรุนแรงเสียชีวิตกลุ่มละ 1 คน

จากข้อมูลดังกล่าว ได้ลบล้างความเชื่อที่ว่า การให้วัคซีน BCG เมื่อแรกเกิดอย่างที่ประเทศไทยพี่ให้กับทารกแรกเกิดไม่มีผลในการป้องกันโควิด-19












©2018 CK News. All rights reserved.