เปิดโพล ! "ส.อ.ท." ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาพลังงาน


29 ต.ค. 2564, 09:39

เปิดโพล ! "ส.อ.ท." ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาพลังงาน




วันที่ 29 ต.ค. 64 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจส.อ.ท.โพล ประจำเดือน ต.ค. ในหัวข้อ “ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรมแค่ไหน?” โดยพบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม ในระดับปานกลางถึงมาก โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง ที่ปรับตัวสูงขึ้น

ดังนั้นจึงเสนอขอให้รัฐบาลช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ด้วยการตรึงราคาค่าไฟฟ้าอัติโนมัต (เอฟที) ไปจนถึงเดือน ธ.ค.นี้ และควรมีการปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงานเป็นการ ชั่วคราว 3 – 6 เดือน เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้ง ดำเนินนโยบายในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในระยะยาว ขณะเดียวกัน ผลการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ทจำนวน 150 คน ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มี ดังนี้ 1.ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมระดับใดบ้างโดยพบว่ามีผลกระทบปากลาง 49.3%กระทมาก กระทบน้อยมาก 12.7%



2. ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบันซึ่งพบว่าเป็นเพราะ นโยบายการผลิตน้ำมันของประเทศกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) 76.7% การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลทำให้เกิ ดความต้องการบริโภคด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น  68.7% ความผันผวนของค่าเงิน และภาวะเงินบาทอ่อนค่า 53.3% และ ความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ฤดูหนาว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศฝั่งตะวันตก

3. ปัจจุบันต้นทุนด้านพลังงานของธุรกิจของผู้ตอบแบบสอบถามคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับต้นทุนในการประกอบการ อันดับที่ 1 : ต้นทุนด้านพลังงาน เพิ่มขึ้น10 – 20%   คิดเป็น  46.0% ต้นทุนด้านพลังงาน เพิ่มขึ้น 10%  คิดเป็น   24.0%  ต้นทุนด้านพลังงานเพิ่มขึ้น 30 – 50%  คิดเป็น   20%อันดับที่ 4 : ต้นทุนด้านพลังงาน เพิ่มขึ้นมากกว่า 50%  คิดเป็น 10.0%

4. แนวโน้มราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในเรื่องใด ปรากฏว่า มีผลให้ ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น   88%ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น  84% เกิดภาวะเงินเฟ้อ และกระทบต่อกำลังซื้อ/การบริโภคของภาคเอกชน   34% เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบจากจีน จากภาวะขาดแคลนพลังงาน     25.3% 


5. รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากต้นทุนราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นอย่างไร พบว่า ต้องการให้มีการ ตรึงราคาค่าไฟฟ้าอัติโนมัติ  (เอฟที) ไปจนถึงเดือนธ.ค.นี้ 66% ต้องการให้มีการปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงาน ชั่วคราว 3 – 6 เดือน  เพื่อลดต้นทุนผู้ประกอบการ คิดเป็น 56.7% ต้องการให้มีการจัดสรรงบประมาณหรือใช้เงินกองทุน เพื่อชดเชย ให้กับผู้ประกอบการ  และตรึงราคาพลังงานทุกประเภท   54% ต้องการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต)   53.3%

6. ภาครัฐควรดำเนินนโยบายด้านพลังงานในระยะยาวอย่างไรผลสำรวจพบว่า ต้องการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล   74%ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และนำเทคโนโลยีมาใช้  72%เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ,ปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรมแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า 64.0%ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า  44.0%

7.ภาคอุตสาหกรรมควรมีการปรับตัวรับมือกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ต้องมีการ นำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมาใช้  77.3% เพื่อลดและประหยัดพลังงาน,ต้องการให้มีการ นำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ ปรับแผนการผลิต  เพื่อลดต้นทุน  73.3% , ต้องมีการสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน หรือ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง   71.3%และต้องมีการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและเทคนิคการใช้พลังงาน  อย่างประหยัด 59.3%











©2018 CK News. All rights reserved.