ครั้งแรกของโลก 8 หมอช้างเมืองสุรินทร์ ทำพิธีเซ่นปะกำช้างป่า หวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองคนกับช้างอยู่ร่วมกันปอลดภัย 


15 ก.พ. 2566, 18:22

ครั้งแรกของโลก 8 หมอช้างเมืองสุรินทร์ ทำพิธีเซ่นปะกำช้างป่า หวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองคนกับช้างอยู่ร่วมกันปอลดภัย 




 

วันนี้(ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566)  เวลา 09.09 น. ศาลาหมู่บ้านหนองคันนา หมู่ 8 ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ใกล้ป่าแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และพบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 พบว่ามีช้างป่า จากแนวป่าพนมดงรักรักษา พื้นที่ตำบลตาเมียง ซึ่งคาดว่าเป็นช้างป่า ที่เดินทางมาจากป่าดงใหญ่-ทับลาน หรือมาจากพื้นที่ป่า อุทยานแห่งชาติตาพระยา จ.สระแก้ว พื้นที่ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ รอยต่อ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ เข้ามาหากิน ในพื้นป่าชายแดน อ.พนมดงรัก อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ช้างกลุ่มนี้มีประมาณ 4-6 ตัว หากินกินในพื้นที่ป่าชายแดนและยังบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ส่วนใน พื้นที่ทำการเกษตร ของประชาชน สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเกษตรกรที่ ทำไร่ยางพารา ไร่มันสำประลัง ปลูกแตงโม ไร่ทุเรียน  ซึ่งเจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ อ.กาบเชิง จนท.หน่วยพิทักษ์ป่าตาเมียง  จ.สุรินทร์ ได้ผลักดันช้างให้กลับคืนสู่แนวป่าชายแดน อยู่เป็นประจำ

ในวันนี้ เจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ อ.กาบเชิง จึงได้จัด  โครงการอบรมอาสาสมัครทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมมือภาคีเครือข่ายภาคประชาชน เจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ อ.กาบเชิง, อาสาสมัครผลักดันช้างป่าสุรินทร์, อาสาสมัครผลักดันช้างป่าบุรีรัมย์, สถานีควบคุมไฟป่า, สถานีการจัดการต้นน้ำห้วยโตง, หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยอำเภอพนมดงรัก, ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ได้ร่วมกันประกอบพิธี ซ่นไหว้ครูประกำช้างป่า ซึ่งควาญช้างคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ มีความเชื่อว่า  เส้นปะกำช้างถือว่าเป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ มีเทวาอารักษ์ หรือวิญญาณของบรรพบุรุษรักษา “ผีบรรพบุรุษหรือผีปะกำ” ซึงเปรียบเสมือนเทพเจ้าของกลุ่มคนเลี้ยงช้าง ชาวกวยอาเจียงมีความเชื่อว่าการจะกระทำการใด ๆจะต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงไหว้ศาลปะกำก่อนทุกครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล พิธีไหว้ศาลปะกำ เป็นพิธีกรรมของชาวกวยเลี้ยงช้าง

ซึ่งปัจจุบันมีช้างป่าที่เข้ามาในพื้นที่ชายแดนอีสานใต้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณ ต.ตาเมียง, ต.บักได อ.พนมดงรัก, และ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง มีจำนวน 4 ตัว ในพื้นที่เชื่อมต่อแปลงเกษตรของชาวบ้าน ส่งผลกระทบความเสียหาย รวมถึงขวัญกำลังใจของชาวบ้านที่ยากไร้ ที่ยังขาดหน่วยงานในพื้นที่ประสานให้ความช่วยเหลือเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรม

ในวันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดชชาติ นิยมตรง นักวิชาการวางแผนภาคและเมือง ได้ติดตามปัญหาช้างป่าพื้นที่ชายแดน จ.สุรินทร์ มาอย่างต่อเนื่อง ได้ประสานให้หมอช้างจาก บ.ตากลาง ต.กระโพ ที่มีประสบการณ์สูง จำนวน 8 ท่าน นำโดยคุณตาชื่น แสนดี หมอช้างอาวุโส  อายุ 92 ปี ซึ่งมีประสบการณ์ ในการคล้องช้างป่า พื้นที่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ได้นำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ “พิธีเซ่นปะกำช้าง” เพื่อความเป็นสิริมงคล ขวัญกำลังใจพี่น้องอาสาสมัครผลักดันช้างป่า รวมทั้งพี่น้องชาวบ้าน เกษตรกรที่อาศัยอยู่ตลอดแนวชายแดน ให้มีความสงบสุข ร่มเย็น ปลอดภัย และอยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างเป็นมิตรที่ดีต่อกัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดชชาติ นิยมตรง (ดร.บอมบ์ คนสุรินทร์เหลา ) นักวิชาการวางแผนภาคและเมือง กล่าวว่า วันนี้พาพี่น้องชาวพนมดงรักมาทำพิธีไหว้ครูประกำ เซ่นประกำช้าง มีครู 8 หมอช้าง ของจังหวัดสุรินทร์ ทำพิธีเพื่อความเป็นศิริมงคล มารวมตัวทำพิธีเซ่นครูประกำช้าง เนื่องจากช่วงนี้ มีช้าง เข้ามาในพื้นที่ 4 ตัว ต้องการให้พี่น้อง อยู่ร่มเย็นเป็นสุข อยู่รอดปลอดภัย เพราะช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดสุรินทร์ และของชาติไทย ช้างกับคนอยู่ร่วมกันเป็นมิตรกัน ฝากให้พี่น้องทุกท่าน ได้ส่งข่าวต่อ ยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้มีพี่น้องชาวบ้าน จิตอาสา ประชาชนมาทำงานร่วมกัน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ อบต.ตาเมียง ฝ่ายปกครองอำเภอพนมดงรัก เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่ดี เป็นแรงขับที่มีความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืนตลอดไป พิธีในวันนี้เซ่นประกำช้าง การที่มีช้างป่าเข้ามาในพื้นที่ ต้องมีการเซ่นไหว้บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางตามความเชื่อของคนเลี้ยงช้างสุรินทร์ บอกกล่าวเจ้าป่า เจ้าเขา เชื่อว่าช้างแต่ละตัวมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุมครองแต่ละตัว การเซ่นประกำเป็นสิ่งศักดิ์ มาแต่โบราณของชาวสุรินทร์

นายทิฆัมพร สิงหะ หน.ฝ่ายส่งเสริม และประชาสัมพันธ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ อ.กาบเชิง กล่าวว่า  วันนี้มาตรวจสอบข้อมูลช้างป่าที่เข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน เส้นทางที่ช้างใช้ประจำจากเขต จ.บุรีรัมย์ มายังเขต จ.สุรินทร์ เจ้าหน้าที่มีการประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่เป็นประจำ ระหว่างเจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯสุรินทร์ ชุดพิทักษ์ป่าตาเมียง กับอาสาสมัครตาเมียงกับอาสาสมัครระวังช้างป่า เขต อำเภอบ้านกรวด บุรีรัมย์ เป็นการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เรื่องแหล่งน้ำเรื่องอาหารกากิน ช้างกินอาหารมาก กินทั้งวัน แหล่งน้ำ ช้างกินน้ำวันละประมาณ 200 ลิตร ต่อตัว เส้นทางตอนของช้างป่าแนวชายแดนไปหาพื้นที่ตอนใน อ.กาบเชิงเป็น100 กิโลเมตร การเข้ามาของช้าง พักอยู่ประมาณ 3-15 วัน ส่วนมาเป็นช้างสีดอ เป็นช้างขนาดใหญ่ ช้างตัวผู้ไม่มีงา มาสำรวจก่อน จากนั้นก็จะมีช้างอักกลุ่มหนึ่งตามหลังมา มีช้างตัวเมีย และช้างพลายตามมาอีกโขลง ทุกวันนี้ช้างป่ายังเข้ามา ปีหนึ่งมา สูงสุดถึง 6 ครั้ง เป็นการเดินทางของช้าง ผ่านไปและผ่านมา มาพักมานอน ที่บริเวณป่าชายแดน แถวตำบลตาเมียง เนื่องจากมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติถึง 4 สระ เป็นสระน้ำโบราณ  ปราสาทร่วมสมัย ปราสาทโบราณตาเมือนโต๊ด สระน้ำหนองคันนาใน  สระแถลง ที่ช้างใช้ และตรวจพบร่องรอยอยู่ประจำ ช้างเขามาในพื้นที่อยู่เป็นประจำ เชื่อว่าช้างกลุ่มนี้มาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ในขณะนี้  มีการแจ้งเตือนประชาชนให้ระวังช้างป่า ใช้หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ในพื้นที่ อ.พนนมดงรัก อ.กาบเชิง นายรัฐพล บุญมี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ติดป้ายแจ้งเตือนเรื่องการเดินทางของช้างระวันช้างป่า พฤติกรรมช้างป่าเวลาพบเผชิญเหตุ สุดท้ายก็สังเกตพฤติการณ์ แหล่งน้ำ เส้นทางเดินของป่า และแหล่งอาหาร ซึ่งจะได้แจ้งเดินประชาชนให้มีการระวังและมีความปลอดภัย ในการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงการประกอบอาชีพ ในสวน ในไร่ เพื่อความปลอดภัยทุกคน





คำที่เกี่ยวข้อง : #หมอช้าง   #สุรินทร์  









©2018 CK News. All rights reserved.